เป็นการต่อตัวนำระหว่างวงจรไฟฟ้ากับดิน เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วโดยมรสาเหตุมาจากการชำรุด หรือการเสื่อมสภาพของอุปรณ์ไฟฟ้าซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ เพื่อเป็นการป้องกันอัตรายแก่ผู้ที่ใช้อาจจะเข้าไปสัมผัสและถูกกระแสไฟฟ้าดูดโดยกระแสไฟฟ้าที่รั่วไหลลงดินแทนการไหลผ่านร่างกายของผู้ที่เข้าไปสัมผัส งการต่อลงดินจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ การต่อลงดินที่ระบบสายส่งไฟฟ้าและการต่อลงดินที่ตัวอุปกรณ์
3.1 การต่อลงดินที่ระบบสายส่งไฟฟ้า
การต่อลงดินที่ระบบสายส่งไฟฟ้า เป็นวิธีการทำต่อสายนิวทรัล ที่ระบบสายส่งไฟฟ้าลงดินโดยผ่านหลักสายดิน การต่อลงดินนี้สามารถทำได้ทั้งไฟฟ้าระบบ 1 เฟส และไฟฟ้าระบบ 3 เฟส วิธีการต่อลงดินที่ระบบสายส่งไฟฟ้า จะเป็นการต่อสายนิวทรัลลงดิน โดยการปฎิบัติจะต้องต่อสายนิวทรัลลโดยใช้หลักสายดินเป็นตัวนำผ่านลงดิน หลักสายดินที่ใช้จะเป็นแท่งตัวนำที่ฝังลงไปในดิน โดยหลักสายเดินจะเป็นแท่งเหล็กชุดสังกะสียาว 8 ฟุต และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง3/4 นิ้ว หรือแท่งอองแดงยาว 8 ฟุต และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว ตอกลงไปในดินลึกจากผิวหน้าดินอย่างน้อย 1 ฟุต
3.2 การต่อลงดินที่ตัวอุปรณ์
เป็นการต่อส่วนที่เป็นโลหะที่ไม่มีกระแสไหลผ่านของสถานประกอบการให้ถึงกันตลอดแล้วต่อลงดิน จุดประสงค์ของการต่อลงดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า
- เพื่อให้ส่วนโลหะที่ต่อถึงกันตลอดมีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์ ป้องกันไฟดูด
- เพื่อให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินทำงานได้เร็วขึ้น เมื่อมีกระแสรั่วไหลลงโครงโลหะ
- เป็นทางผ่านให้การแสรั่วไหลลงดิน
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องต่อลงดิน
1 เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของสายไฟฟ้า แผงเมนสวิตซ์ โดครงและรางปั้นดจั่นที่ใช้ไฟฟ้า โดครงของตู้ลิฟต์ ลวดสลิงยกของที่ใช้ไฟฟ้า
2 สิ่งกั้นที่เป็นโลหะ รวมทั้งเครื่องห่อหุ้มของอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบแรงสูง
3 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยึดติดอยู่กับที่และที่ต่ออยู่กะบสายไฟฟ้าที่เดินอย่างถาวร ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโงซึ่งปกติไม่มีไฟฟ้า แต่อาจมีไฟรั่วได้ ต้องต่อลงดินถ้าอยู่ในสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
- อยู่ห่างจากพื้นที่หรือโลหะที่ต่อลงดินไม่เกิน 8 ฟุตในแนวตั้ง หรือ 5 ฟุตในแนวนอนและบุคคลอาจสัมผัสได้ (ถ้ามีวิธีป้องกันไม่ให้ บุคคลสัมผัสได้ก็ไม่ต้องต่อลงดิน)
- สัมผัสทางไฟฟ้ากับโลหะอื่น ๆ และบุคคลอาจสัมผัสได้
- อยู่ในสภาพเปียกชื้นและไม่ได้มีการแยกให้อยู่ต่างหาก
4 อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับยึดติดอยู่กับที่ดังต่อไปนี้ ต้องต่อส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งและปกติไม่มีกระแสรั่วลงดิน
- โครงของแผงสวิตซ์
- โครงของมอเตอร์ชนิดยึดติดกับที่
- กล่องเครื่องควบคุมมอเตอร์ ถ้าเป็นสวิตซ์ธรรมดาและมีฉนวนรองที่ฝาด้านในก็ไม่ต้องต่อลงดิน
- อุปกรณ์ไฟฟ้าของลิฟต์และปั้นจั่น
- ป้านโฆษณา เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่องสูบ
5 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เต้าเสียบ ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งของอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องต่อลงดินเมื่อมีสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
- แรงดันเทียบกับดินเกิน 150 โวลท์ ยกเว้นมีการป้องกันอย่างอื่นหรือมีฉฯซฯอย่างดี
- อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งที่ใช้ในที่อยู่อาศัยและที่อื่น ๆ เช่น
- ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศ
- เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องล้างจาน เครื่องสูบน้ำทิ้ง
- เครื่องประมวลผงข้อมูล เครื่องใช้ไฟฟ้าในตู้เลี้ยงปลา
- เครื่องที่ทำด้วยมอเตอร์ เช่นว่านไฟฟ้า - เครื่องตัดหญ้า เครื่องขัดถู
- เครื่องมือที่ใช้ในสถานที่เปียกชื้น เป็นพื้นดินหรือโลหะ
- โคมไฟฟ้าชนิดหยิบยกได้