เป็นตัวนำไฟฟ้าที่เป็นโลหะชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเส้นลวดที่ทำจากวัสดุที่มีจุดหลอมละลายต่ำบรรจุอยู่ภายในภาชนะห่อหุ้ม เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสกระแสเกินและป้องกันการลัดวงจร ฟิวส์จะมีคุณสมบัติที่ตัดกระแสลัดวงจรได้ถึงพิกัดสูงสุด และมีคุณสมบัติสามารถจำกัดกระแสไหลผ่านฟิวส์ต่ำกว่าค่ากระแสลัดวงจรที่ขึ้นสูงสุด ฟิวส์สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท
ฟิวส์มีอัตราทนกระแสกำกับไว้ซึ่งจะแสดงปริมาณกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านฟิวส์ไปยังอุปกรณ์ใด ๆ ก็ได้ ดังตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงฟิวส์ขนาด 2 แอมป์ ต่ออยู่เข้ากับเครื่องรับวิทยุ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านฟิวส์จะทำให้พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานความร้อน ซึ่งในกรณีที่ใช้ฟิวส์ที่มีอัตตราทนกระแสน้อยและเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านฟิวส์นี้เกินกว่าอัตราทนกระแสที่สามารถรับได้ ความร้อนที่เกิดขึ้นจะหลอมละลายวัสดุที่นำมาใช้ฟิวส์ให้ขาดออกจากกัน ซึ่งจะเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับเครื่องรับวิทยุ เมื่อกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นในระดับที่สามารถทำความเสียหายแกอุปกรณ์ไฟฟ้าใด ๆ ฟิวส์จะทำหน้าที่ตัดหรือเปิดวงจรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าใด ๆ จึงทำให้แบตเตอรี่ต้องจ่ายกระแสออกมามากเกินผิดปกติ การเสียหายของชิ้นส่วนภายในอาจทำให้ค่าความต้านทานรวมอุปกรณ์นั้น ๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลง การเพิ่มขึ้นของค่าความต้านทานโหลด จะทำให้แบตเตอรี่เสมือนมองเห็นค่าความต้านทานที่เพิ่มขึ้นในเส้นทางการไหลของกระแสไฟฟ้า ดังนั้น จึงมีกระแสไฟฟ้าปริมาณเพียงเล็กน้อยที่จ่ายออกจากแบตเตอรี่ ซึ่งส่งผลทำให้อุปกรณ์นั้น ๆ ไม่ทำงาน แต่ถ้าการเสียของสิ้นส่วนภายใน ทำให้ค่าความต้านทานโหลดลดลง จะทำให้แบตเตอรี่มองเห็นค่าความต้านทานน้อยในวงจร และจ่ายกระแสไฟฟ้าปริมาณมาก ๆ เข้าไป ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าชั้นนั้นทันที ดังนั้น ฟิวส์จึงเป็นอุปกรณ์ป้องกันอัตโนมัติ ที่จะป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ฟิวส์มีรูปลักษณะ และขนาดที่แตกต่างกันมากมาย โดยอาจออกแบบให้สามารถเกิดความร้อนได้เร็ว จากนั้นจึงหลอมละลาย หรือเป็นชนิดที่สามารถหน่วงเวลาการหลอมละลายได้ ดังแสดงในรูป เหตุผลที่ฟิวส์ถูกออกแบบให้มีความหลากหลายก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน
เมื่อเปิดสวิตซ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างไม่อาจทนต่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าไปในปริมาณมาก ๆ ได้ และเกิดความเสียหายในที่สุด ดังนั้น ฟิวส์ชนิดหลอมละลายช้า จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ได้ ทั้งนี้เนื่องจากว่าฟิวส์ชนิดหลอมละลายช้า จะยอมให้กระแสไฟฟ้าที่มีปริมาณมากนี้ไหลผ่านเป็นระยะเวลานาน แต่ถ้าใช้ฟิวส์ชนิดหลอมละลายเร็วแทน ก็จะตัดการไหลของกระแสไฟฟ้าทันทีที่ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านมานั้นเกิดอัตราทนกระแสที่ฟิวส์จะรับได้ ความเสียหายที่มีอุปกรณืนั้นๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น ฟิวส์ที่ใช้ในลดลงเป็นตัวอย่างการใช้งานแรกของฟิวส์ชนิดที่เป็นหลอดแก้วโดยมีขนาดของฟิวส์มาตรฐานที่เรียกว่า AG (Automobile Glass) ซึ่งชนิด ขนาด และโครงสร้างของฟิวส์ ดังแสดงในรูป
ฟิวส์บางชนิดจะมี อัตราทนแรงดันไฟฟ้า (Voltagr Rating) กำกับมาด้วย ซึ่งจะแสดงถึงแรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่สามารถตกคร่อมฟิวส์โดยไม่ทำให้เกิดการกระโดดข้ามของกระแสไฟฟ้าผ่านขั้วฟิวส์ในกรณีที่ขาดไปได้ดังแสดงในรูป เมื่อฟิวส์ขาดจะพบว่า ขั้วทั้งสองมีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวกและลบ ถ้าแรงดันไฟฟ้าบริเวณขั้วทั้งสองนี้สูง ก็จะทำให้เกิดการดเหนี่ยวนำผ่านขั้วฟิวส์ไปได้ส่งผลให้เกิดกระแสไฟฟ้ากระซากปริมาณสูง ทำความเสียหายให้กับอุปกรณืไฟฟ้านี้ได้
โดยปกติแล้วฟิวส์จะถูกเก็บภายในกล่อง หรือภาชนะบรรจุฟิวส์ ซึ่งติดตั้งอยู่ทางด้านหลังของอุปกรณืไฟฟ้าใด ๆ เพื่อง่ายต่อการถอดเปลี่ยน ดังแสดงในรูป เมื่อทำการเปลี่ยนฟิวส์ จะต้องแน่ใจว่าได้ปิดสวิตซ์การทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นแล้ว
นอกจากนั้น เมื่อเปลี่ยนฟิวส์ จะต้องเปลี่ยนให้ถูกต้องตามขนาดของอัตราทนกระแส และแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ เนื่องจากว่าฟิวส์เปรียบเสมือนเส้นลวดเส้นหนึ่ง ดังนั้นเมื่อฟิวส์อยู่ในสภาพดี จึงต้องมีค่าความต้านทานเป็น 0 และจะต้องไม่สามารถตรวจวัดแรงดันไฟฟ้าใด ๆ ตกคร่อมอยู่ แต่ถ้าฟิวส์ขาด หรือไหม้เสียหาย เมื่อถอดออกมาวัดจะมีค่าความต้านทานเป็นอนันต์ และเมื่อเปิดสวิตซ์ จะสามารถวัดค่าแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมขั้วฟิวส์ได้เท่ากับขนาดของแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายเข้ามาตัดตอนอัตโนมัติ หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์