ในระบบการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่แล้ว มักจะนิยมใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ในการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากกระแสไฟฟ้า ข้อดีของเซอร์กิตเบรกเกอร์ คือ สามารถเปิดวงจรไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยไม่ทำให้อุปกรณ์ภายในคัวเซอร์กิตเบรกเกอร์เสียหาย ดังเช่นการขาดของฟิวส์ นอกจากนั้นยังสามารถทำการรีเซ็ต ให้กลับมาใช้งานได้อีก อาจกล่าวได้ว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์ คือ ฟิวส์ที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่อีกนั่นเอง
เซอร์กิตเบรกเกอร์ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่
1 ชนิดที่ทำงานโดยอาศัยความร้อน
2 ชนิดที่ทำงานโดยอาศัยสนามแม่เหล็ก
3 ชนิดผสม
2.1 เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดที่ทำงานโดยอาศัยความร้อน
การทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้ จะอาศัยการขยายตัวความร้อนอันเนื่องจากกระแสไฟฟ้าดังแสดงในรูปจะแสดงโครงสร้างของเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดที่ทำงานโดยอาศัยความร้อน ซึ่งแผ่นโลหะผสมที่ใช้นี้เกิดจากการนำแผ่นทองเหลือง และแผ่นเหล็กมาประกบกัยโดยกระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าขั้ว A จากนั้นจะไหลเข้าทางขวาของแผ่นโลหะผสมชนิดนี้ แล้วไหลออกไปทางด้านซ้ายผ่านต่อไปยังตอนบนของหน้าสัมผัสซึ่งประกบติดกับหน้าสัมผัสตอนล่าง สุดท้ายก็ไหลออกจากเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ขั้วB
ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลเข้ามานี้มีปริมาณมากกว่าอัตราทนกระแสของเซอร์กิตเบรกเกอร์ ก็จะเกิดความร้อนขึ้นที่บริเวณแผ่นโลหะผสมนี้ ซึ่งคุณสมบัติของโลหะทุกประเภทเมื่อได้รับความร้อนก็จะเกิดการขยายตัว โลหะบางชนิดก็จะขยายตัวเร็วบางชนิดขยายตัวได้ช้า ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสัมประสิทธิ๋ของการขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน ของโลหะชนิดนั้น ๆ ในกรณีนี้ทองเหลืองจะขยายตัวได้ดีกว่าเหล็ก ส่งผลให้แผ่นโลหะผสมนี้เกิดการโค้งตัวไปทางขวา ทำให้กระเดื่องที่สัมผัสกับโลหะนี้ถูกปลดออกและถูกดึงให้กระดกขึ้นตามสปริงที่คอยรั้งคานที่เชื่อมกระเดื่องไว้ การยกตัวของคานทางซ้ายนี้ ทำให้หน้าสัมผัสด้านบนและด้านล่างแยกออกจากกัน จึงเป็นการตัดเส้นทางเดินของกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นการป้องกันวงจรไฟฟ้าจากการได้รับกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่มากเกินไป การรีเซตจะเป็นการทำให้หน้าสัมผัสที่แยกออกจากกันกลับมาประกบชิดกันอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามถ้าปัญหากระแสไฟฟ้าไหลเกินยังไม่ได้รับการแก้ไขก็จะทำหน้าวัมผัสแยกออกจากกันอยู่
2.2 เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดที่ทำหน้าโดยอาศัยสนามแม่เหล็ก
เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดที่ทำงานโดยอาศัยสนามแม่เหล็ก เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดที่พันรอบแกนมีปริมาณน้อย ส่งผลทำให้เกิดสนามแม่เหล็กในปริมาณที่น้อยเช่นกันที่จะกระทบทำบนคานเหล็กโดยที่จะดึงกระเดื่องให้เคลื่อนไปทางซ้าย อย่างไรก็ตามแรงดึงที่เกิดจากสนามแม่เหล็กนี้ก็ยังไม่สามารถเอาชนะแรงดึงไปทางขวาที่เกิดจากสปริงที่คอยรั้งคานเอาไว้ ดังนั้นกระแสไฟฟ้าที่ไหลจึงยังคงไหลได้ตามปกติ นั่นคือ จากขั้ว A ไหลเข้าไปยังขดลวดผ่านไปยังด้านบนของหน้าสัมผัส จากนั้นจึงไหลออกจากเซิร์กิตเบรกเกอร์ที่ขั้ว B
ถ้ากระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าไปมีปริมาณเกินกว่าอัตราทนกระแสของเซอร์กิตเบรกเกอร์กระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมากขึ้นนี้ ก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดมีปริมาณมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้มีสนามแม่เหล็กที่กระทำบนแกนเหล็กทางแนวตั้งนี้มากขึ้น และแกนเหล็กทางด้านบนจะถูกดึงไปทางด้านซ้ายมือ ส่วนทางด้านล่างที่เป็นกระเดื่องก็จะกระดกไปทางขวาตามจุดหมุนของแกนการปลดกระเดื่องที่เกี่ยวอนู่กับคานทางแนวนอนจะส่งผลให้สปริง B ที่คอยดึงคานทางด้านขวาให้กระดกลงซึ่งทำหน้าที่แยกออกจากกัน ปุ่มรีเซตมีไว้สำหรับทำให้หน้าสัมผัสกลับมาประกบชิดกันอีกครั้ง เช่นเดียวกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดที่ทำงานโดยอาศัยความร้อน และปัญหาเรื่องกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากเกินไปก็ยังคงอยู่ก็จะทำให้การแยกกันของหน้าสัมผัสเกิดขึ้นได้อีก
2.3เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดผสม
เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบผสมที่ใช้งานกันตามบ้านเรือนหรืออาคารที่อยู่อาศัยทั่วไป เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้คลายกับฟิวส์ที่สามารถหน่วงเวลาในการหลอมละลายได้ สามารถที่จะทำให้กระแสไฟฟ้ากระชากเกิดในช่วงขณะหนึ่งโดยไม่ส่งผลทำให้กลไกหน้าสัมผัสภายในเซอร์กิตเบรกเกอร์แยกออกจากกัน ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานของอุปกรณ์แผ่นโลหะผสมภายใน
ว B